วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การศึกษาภาวะผูนำของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan Studies)

การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยมิชิแกนมุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้นำกับกระบวนการกลุ่ม และผลการปฏิบัติงานของกลุ่ม ซึ่งผลงานของกลุ่มจะใช้เป็นเกณฑ์ในการแยกผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือมีประสิทธิภาพน้อยการศึกษาสรุปพฤติกรรมผู้นำเป็น  3   แบบ
1)  พฤติกรรมมุ่งงาน  (Task-Oriented Behavior)  ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะไม่ใช้เวลาและความพยายามในการทำงานเหมือนกับผู้ใต้บังคับบัญชาแต่จะมุ่งไปที่ภาระหน้าที่ของผู้นำซึ่งได้แก่  การวางแผน การจัดตารางการทำงาน ช่วยประสานกิจกรรมต่างๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชาจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งเทคนิควิธีการทำงานยิ่งกว่านั้น ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะแนะนำให้ลูกน้องตั้งเป้าหมายของงานที่ท้าทาย และเป็นไปได้
       2) พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์หรือมุ่งคน (Relationship-Oriented Behavior)  ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะเป็นผู้นำที่ห่วงใย สนับสนุน และช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งยังศรัทธาเชื่อมั่น และ มีความเป็นเพื่อน พยายามเข้าใจปัญหาของลูกน้อง ช่วยให้ลูกน้องมีการพัฒนาในอาชีพและสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จ
3) ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participative Leadership)  Rensis  Likert  และสถาบันวิจัยสังคม  มหาวิทยาลัยมิชิแกนทำการวิจัยด้านภาวะผู้นำ ได้เสนอว่าการนิเทศหรือติดตามดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาควรกระทำโดยใช้กลุ่มนิเทศงานจะดีกว่าจะนิเทศคนเดียว
ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน  (Participative Leadership)

                        การศึกษาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ โดยผู้นำมีแนวโน้มจะเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมาร่วมในการตัดสินใจหรือให้มีอิทธิพล ในการตัดสินใจของผู้นำ เช่น การปรึกษา การร่วมตัดสินใจ
              1) การตัดสินใจแบบเผด็จการ
              2) การตัดสินใจแบบปรึกษา
              3) การร่วมกันตัดสินใจ
                     4) การมอบหมายให้ตัดสินใจ 
สรุปคุณประโยชน์ของการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม
1. ช่วยปรับปรุงคุณภาพของการตัดสินใจ (improved decision quality
2. เพิ่มการยอมรับผลการตัดสิน (
greater acceptance of decisions)
3. เพิ่มความเข้าใจในเหตุผลของการตัดสินใจ (
better understanding of  decisions)
4. พัฒนาทักษะการตัดสินใจของผู้ใต้บังคับบัญชา (
development of decision -making skills)  

5. ช่วยให้งานของผู้ใต้บังคับบัญชามีความหมายมากขึ้น (enrichment of  subordinate jobs) 
 6. ลดความขัดแย้งและสร้างทีมงาม (facilitation of conflict resolution   and team building)
ที่มา : ยุทธนา  พรหมณี.   ทฤษฎีภาวะผู้นำ.
ที่มา : ครูอภิชัย บอกกล่าวการนิเทศการศึกษา :เว็บไซด์ http://gotoknow.
           org/blog/oodapichai/201638
อ้างอิง  สุเทพ  พงศ์ศรีวัฒน์. (2544).  ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ.   เชียงราย : สถาบันราชภัฏ
           เชียงราย. หน้า 22-55, 97-152, 254-293, 301-339.